ล้างลำไส้ ทำบ่อย ๆ ส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ล้างลำไส้ ทำบ่อย ๆ ส่งผลเสียมากกว่าผลดี

โพรไบโอติก

ล้างลำไส้ เป็นการดีท็อกซ์ที่ช่วยขับสารพิษ และสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย  โดยปกติแล้วไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดีท็อกซ์ เพื่อล้างลำไส้ นั้นสามารถเป็นอันตรายได้หากทำโดยไม่มีความรู้ และการทำบ่อย ๆ ก็ยิ่งจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะกระทบต่อปริมาณน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงอาจทำให้ลำไส้ขาดความสมดุล

ดังนั้น วันนี้ Glory จะพาทุกคนมาดูผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ ล้างลำไส้ เองบ่อย ๆ หากพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
เรื่องควรรู้ ! ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการ ล้างลำไส้ บ่อย ๆ
การ ล้างลำไส้ ส่งผลต่ออวัยวะโดยตรง จึงมีความเสี่ยงมากมายที่อาจทำให้ลำไส้ได้รับความเสียหาย อีกทั้งเมื่อมีอวัยวะภายในเสียหาย จะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำการล้างลำไส้บ่อย ๆ มีดังนี้
สูญเสียน้ำ และเกลือแร่
การล้างลำไส้ ทำให้ร่างกายขับน้ำ และเกลือแร่ออกมาด้วย ซึ่งถ้าหากขับออกมามากเกินไป ก็จะทำให้สูญเสียน้ำ และเกลือแร่มากจนร่างกายได้รับอันตราย โดยจะเริ่มมีอาการรู้สึกอ่อนเพลีย ปากแห้ง เหงื่อออกน้อย ปัสสาวะน้อย และท้องผูก ซึ่งในกรณีมีความรุนแรงมากจะเสี่ยงต่อการช็อก และสามารถเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นจึงไม่ควรล้างลำไส้บ่อย ๆ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้
แบคทีเรียในลำไส้ไม่สมดุล
ในลำไส้มีทั้งแบคทีเรียดี และแบคทีเรีย ที่เป็นพิษต่อร่างกาย หากเกิดความไม่สมดุลก็จะทำให้ระบบย่อยอาหาร และระบบอื่น ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งการล้างลำไส้จะเป็นการขับแบคทีเรียดีออกไปด้วย ทำให้เกิดความไม่สมดุล และไม่มีตัวช่วยในการเสริมสร้างระบบอวัยวะให้ทำงานอย่างเป็นปกติ
ปวดท้อง
เพราะการล้างลำไส้ เป็นการกระทำกับลำไส้โดยตรง ซึ่งเป็นอวัยวะหลักของระบบย่อยอาหาร ที่มีความบอบบาง เมื่อมีอะไรมาสัมผัสบ่อย ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง และเจ็บช่องท้องได้ ซึ่งเป็นอาการที่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วย โดยอาการปวดท้องมีสาเหตุได้หลากหลาย และการสวนล้างลำไส้บ่อย ๆ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น
ทวารหนักได้รับบาดเจ็บ
การสวนล้างลำไส้ ต้องกระทำผ่านทางทวารหนัก ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่บอบบาง และง่ายต่อการฉีกขาด โดยถ้าหากทำบ่อย ๆ ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการเจ็บบริเวณทวารหนัก ซึ่งจะส่งผลให้ขับถ่ายได้ลำบาก และถ้าหากเกิดแผลบริเวณทวารหนัก อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นถ้าหากไม่สังเกตจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนลุกลาม และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ในที่สุด
เสี่ยงลำไส้ทะลุ
การสวนล้างลำไส้ ต้องใช้แรงดันในการบีบไล่น้ำขึ้นไป ซึ่งถ้าหากมีแรงดันมากเกินไป อาจทำให้ลำไส้โป่งพอง และเกิดการทะลุได้ โดยอาการคือปวดท้องรุนแรง ซึ่งจะรุนแรงขึ้นจากการเคลื่อนไหว มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และการอาเจียนเป็นเลือด ซึ่งส่งผลร้ายแรงต่อร่างกาย และชีวิต
เรื่องต้องห้าม ! กลุ่มผู้มีอาการดังต่อไปนี้ไม่ควร ล้างลำไส้
ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
เช่น โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) โรคระบบทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง (Crohn’s Disease) ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคดังกล่าวจะมีลำไส้ที่บอบบาง และง่ายต่อการติดเชื้อ อีกทั้งการล้างลำไส้ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย และทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
ผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดลำไส้
ผู้ที่ทำการผ่าตัดลำไส้จะมีแผลที่ลำไส้ ซึ่งไม่ควรได้รับการกระทบกระเทือนจากอะไรทั้งสิ้น และการผ่าตัดจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ด้วยการทำให้ลำไส้เกิดความสมดุลด้วยแบคทีเรียต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากมีการสวนล้างก็อาจจะส่งผลต่อความสมดุล และทำให้ลำไส้ได้รับบาดเจ็บ
ผู้ที่เป็นโรคไต (Kidney Disease)
ผู้ที่เป็นโรคไตจะมีการทำงานของไตผิดปกติ โดยหน้าที่ของไตคือการขับสารพิษ และควบคุมฮอร์โมน รวมถึงมีหน้าที่สำคัญ อย่าง การควบคุมน้ำและเกลือแร่ ซึ่งเมื่อร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้ ก็จะเกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการล้างลำไส้ จะทำให้สูญเสียน้ำ และเกลือแร่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของไตโดยตรง จึงอาจทำให้เกิดความผิดพลาดและส่งผลร้ายแรงกว่าเดิมในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจ เป็นโรคที่มีความเสี่ยงอันตราย เพราะเกี่ยวข้องกับการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ จึงไม่ควรทำอะไรที่กระทบต่อร่างกายมากเกินไป อย่าง การสวนล้างลำไส้ที่เมื่อทำบ่อย ๆ อาจจะทำให้ร่างกายไม่สมดุล และรู้สึกอ่อนเพลีย ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลต่อระบบการทำงานของหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจจึงควรหลีกเลี่ยงการล้างลำไส้
เด็กและสตรีมีครรภ์
เด็ก และสตรีมีครรภ์ เป็นบุคคลในกลุ่มที่ร่างกายเปราะบาง จึงไม่ควรล้างลำไส้ เพราะอวัยวะอื่น ๆ อาจได้รับความเสียหายไปด้วย อีกทั้งอาจจะทำการรักษาฟื้นฟูได้ยากด้วยเงื่อนไขด้านร่างกาย โดยอาจจะเลี่ยงวิธีล้างลำไส้ เปลี่ยนไปเป็นการรับประทานอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่ายแทน เช่น ผัก และผลไม้ต่าง ๆ ที่มีไฟเบอร์สูง

ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ และต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์เท่านั้น จึงจะทำการสวนล้างได้ ตามเหตุจำเป็นต่าง ๆ
ปลอดภัยไว้ก่อน !  4 อาหารที่ช่วยดีท็อกซ์ได้ ไม่ต้องสวน ล้างลำไส้
อย่างไรก็ตาม การดีท็อกซ์ล้างสารพิษในร่างกายนั้นมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความอันตรายจากการสวนล้างลำไส้  นั่นก็คือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ดังต่อไปนี้
น้ำมะนาว
การดื่มน้ำมะนาวผสมกับน้ำอุ่น จะมีฤทธิ์ช่วยในการขับถ่าย และการขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นนิยามของการทำดีท็อกซ์ โดยสามารถผสมดื่มได้โดยไม่มีสัดส่วนระบุไว้ชัดเจน แต่ไม่ควรผสมน้ำน้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ระคายคอและแสบท้องได้
น้ำขิง
น้ำขิงเป็นสมุนไพรที่สรรพคุณมากมาย และสรรพคุณที่โดดเด่นก็คือ ช่วยในเรื่องการขับถ่าย น้ำขิงจะไปส่งเสริมการทำงานของระบบขับถ่ายให้ทำงานได้อย่างปกติ
น้ำขมิ้นชัน
ขมิ้นชันมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และจุกเสียด รวมถึงช่วยขับสารพิษในตับ และที่สำคัญ เมื่อนำไปตำพร้อมผสมน้ำเปล่า แบ่งกินคราวละ 2 ช้อนโต๊ะ จะช่วยสร้างสมดุลให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร

ผลิตภัณฑ์เสริมโพรไบโอติก
โดย Glory มีผลิตภัณฑ์  Probiotic Veggy Plus ซึ่งเป็น โพรไบโอติก ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ผสมกับไฟเบอร์อยู่ในรูปแบบของแคปซูล  ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น รวมถึงช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ดังนั้น การดีท็อกซ์ไม่จำเป็นต้องทำการสวน ล้างลำไส้ เสมอไป อีกทั้งไม่ควรทำบ่อย ๆ เพราะจะส่งผลต่อความสมดุลของร่างกาย ในทางที่ดีควรรับประทานอาหารที่ดีต่อการขับถ่าย และช่วยดีท็อกซ์อย่างพอดี ไม่เสี่ยงอันตราย  ทั้งนี้หากใครสนใจ Probiotic Veggy Plus จาก Glory  สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อราคาโปรโมชันคลิก หรือ Line: @GloryofficialTH